วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

การทำงานของจอทัชสกรีน


สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับเข้าสู่ sale-touchscreen.blogspot.com         
 บริษัท เอ ออโตเมชัน จำกัด ร้านของเราในเครือ เอ – รีไซเคิล กรุ๊ป จำจำหน่ายและรับซื้อสินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า-นิวเมติก อะไหล่เครื่องจักรอุตสาหกรรม รวมไปถึงชิ้นงานต่างๆที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม เรามีสินค้าที่หลากหลายทั้งสินค้าใหม่และสินค้ามือสอง ที่เป็นทั้งของไทยและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศค่ะ แลทางร้านเรามีทัชสกรีนจำหน่ายด้วยค่ะ
     วันนี้เราจะมาพูดถึงคำว่า จอทัชสกรีน ( Touchscreen ) หลายๆท่านคงรู้จักเจ้าตัวจอสัมผัสนี้กันเป็นอย่างดีและอาจได้ใช้งานกันบ่อยๆ แต่ท่านสงสัยกันหรือไม่ ว่าจะตัว จอ Touch screen เนี่ยมันทำงานอย่างไร มีการรับคำสั่งอย่างไร แล้วมันรู้ได้ยังไงว่าเราจิ้มกดตรงไหนคือคำสั่งอะไร วันนี้เราจะมาเล่ารายละเอียดให้ม่านผู้อ่านได้อ่านกันคร่าวๆพอสังเขปนะคะ
          จอทัชสกรีนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลและเป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลที่ผสมมารวมกัน เพื่อที่จะลดขนาดพื้นที่ของการใช้งาน ซึ่งโปรแกรมจะแสดงผลงานแบบกราฟฟิคที่บนจอภาพจอทัชสกรีนค่ะ โดยที่ผู้ใช้งานสามารถใช้นิ้วมือสัมผัสบนจอทัชสกรีนได้เลย เพื่อที่จะเลือกรายการต่างๆ คำสั่งการทำงานต่างๆที่อยู่ในจอภาพค่ะ ซึ่ง Touch screen ซึ่งจอทัชสกรีนจะรับคำสั่งรู้ตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ จะมีระบบพื้นฐานอยู่ 3 ประเภทด้วยกันค่ะ ซึ่งประกอบไปด้วย
        ตัวต้านทาน (Resistive) ระบบตัวต้านทาน ซึ่งตัวนี้จะประกอบไปด้วยช่องกระจกที่เคลือบด้วยตัวนำและตัวต้านทานโดยทั้งสองตัวนี้จะไม่ได้อยู่ติดกันนะคะ ซึ่งจะมีตัวกันและชั้นตัวต้านทานที่สามารถปรับค่าได้อยู่บนสุด ในขณะที่หน้าจอทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองชั้นค่ะ เมื่อเราสัมผัสที่หน้าจอทัชสกรีนจะทำให้ทั้งสองชั้นนั้นได้สัมผัสกันในตำแหน่งที่เราสัมผัสค่ะ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านและได้ถูกบันทึกไว้และจะคำนวณหาตำแหน่งต่างๆให้เราโดยทันทีค่ะ เมื่อเครื่องรู้แล้วว่าเราได้สัมผัสที่ตรงไหน จะมีไดรเวอร์พิเศษที่ทำหน้าที่แปลการสัมผัสและจะส่งสัญญาณรหัสไปยังระบบปฏิบัติการของเครื่องต่อไปค่ะ
                ตัวเก็บประจุ ( Capacitive )  ระบบตัวเก็บประจุ จะเป็นที่มีหน้าที่เก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งจะอยู่ที่บนกระจกของหน้าจอค่ะ เมื่อเราสัมผัสที่หน้าจอทัชสกรีน ประจุไฟฟ้าบางส่วนจะถูกส่งมาที่เราซึ่งทำให้ประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ในตัวเก็บประจุไฟฟ้าจะลดลงค่ะ ซึ่งการลดลงของประจุไฟฟ้าจะเป็นตัวบ่งบอกว่าเราสัมผัสลงตรงไหน ซึ่งตำแหน่งของมุมจอทั้งสี่มุมจะมีวงจรคอยตรวจสอบอยู่ค่ะ และคอมพิวเตอร์จะคำนวณจากผลต่างๆของประจุไฟฟ้าของแต่ละมุม จนได้ตำแหน่งที่เราสัมผัสและส่งไปยังไดรเวอร์ต่อไป
                คลื่นเสียงที่ผิวของหน้าจอ ( Surface Acoustic Wave ) ระบบคลื่นเสียง บนหน้าจอทัชสกรีนของระบบคลื่นเสียงจะมีตัวรับและส่งสัญญาณอยู่ตลอดทั้งแนวตั้งและแนวนอ ของแผ่นกระจกที่อยู่บนหน้าจอทัชสกรีนและตัวสะท้อน ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์มาจากตัวส่งสัญญาณส่งไปยังตัวอื่น และตัวรับสัญญาณจะเป็นตัวแจ้งบอกเมื่อคลื่นถูกรบกวนโดยการสัมผัสจากเราค่ะและสามารถรับตำแหน่งได้ การใช้ระบบคลื่นทำให้หน้าจอสามารถแสดงผลได้อย่างชัดเจนกว่าทั้งสองระบบด้านบนค่ะ
  เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ จากบทความข้างต้นน่าจะพอให้ได้หายสงสัยกันไปบ้างไม่มากก็น้อย ในส่วนท้ายนี้อยากจะแจ้งให้ผู้อ่านได้ทราบว่าทางร้านเราขาย Touch screen หลายยี่ห้อและหลากหลายรุ่นที่รองรับกับการทำงานในรูปแบบต่างๆมากมายทั้งขนาดเล็กและใหญ่  Touch Screen Mitsubishi, Touch Screen Keyence, Touch Screen Omron, Touch Screen Panasonic 
📩

 ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ฝ่ายขาย(สินค้าใหม่) 02-944-4511
✅คุณเมย์,คุณติน Tel : 092-976-8888
Line ID : a-automation
✅คุณเฟิร์น,คุณศร Tel : 087-329-7777
Line ID : a-automation2
Email: Sale@a-automation.co.th
ฝ่ายขาย(สินค้ามือสอง) 02-944-4781
✅คุณเปิ้ล Tel : 085-484-4854
Line ID : a-recycle

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น